เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมาผมได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรในการบันทึกข้อมูลโปรแกรมระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ณ รพ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เราไปถึงก่อนเวลาเล็กน้อยจึงมีโอกาศได้เตรียมตัวก่อนการนำเสนอ (ต้องสารภาพว่าไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้าเลยเนื่องจากพึ่งทราบก่อนหน้าเพียงวันเดียว) เราได้จัดเตรียมและนัดแนะกันไปในรถกับพี่ศักดิ์ (วิทยากรอีกคน ซึ่งก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานจริงและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการนี้ที่ ร.พ. ที่ผมทำงานอยู่)
หลังจากที่เตรียมการอยู่สักพัก ผมก็ได้คุยกับไอที (เบียร์ ชุดสีเขียวที่นั่งข้างๆผม เขาดูกระตือลือล้นและสนใจดี) เพื่อสอบถามระบบงานที่ใช้อยู่เพื่อหาข้อมูลและแนวทางในการสอนของผมให้เหมาะกับผู้ที่มาฟังบรรยายของผม
การบรรยายในครั้งนี้ผมสอนในส่วนของ โปรแกรม Depress Offline กับ ตัว Online โดยในส่วนของ Offline ผมทำการสอนตั้งแต่ติดตั้ง จนกระทั้งส่งออกข้อมูล ในส่วนของ Online เองผมได้ทำการสอนเบื้องต้นแต่ได้ไม่มากนักเนื่องจากยังมี ปัญหาในส่วนของเทคนิคซึ่งทางหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่กำลังดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ส่วนพี่ศักดิ์ จะเน้นในส่วนของการทำงานจริงที่ รพ. และเทคนิคในการบันทึกข้อมูลและเลือกคนไข้ในการคัดกรอง
สิ่งที่ผมประทับใจมากๆ และอยากให้ทุกๆที่เป็นแบบนี้ คือการสนใจและกระตือรือล้นและเอาใจใส่ในการที่จะใช้โปรแกรมนี้ โดยผู้เข้ารับฟังนำ Notebook และทดลองทำไปพร้อมกับผม จนสำเร็จ และการต้อนรับพี่นิล (เจ้าหน้าที่งานสุขภาพจิต) ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
ปัญหาในการใช้งาน
80 % มาจากการติดตั้งที่ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับ ผู้ใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช่ไอที
10 % มาจาก Bug และ ปัญหาทางเทคนิคของโปรแกรมเอง
05 % มาจาก การใช้ Windows ดัดแปลงจำพวก Dark Edition พวก Windows XP แต่ใช้
80 % มาจากการติดตั้งที่ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับ ผู้ใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช่ไอที
10 % มาจาก Bug และ ปัญหาทางเทคนิคของโปรแกรมเอง
05 % มาจาก การใช้ Windows ดัดแปลงจำพวก Dark Edition พวก Windows XP แต่ใช้
Theame ของ Windows 7 หรือ Vista
05 % ที่เหลือคือ การใช้ Windows 7 ซึ่งต้อง Run as Administrator (ผู้ใช้งานทั่วๆไปมักไม่รู้)
05 % ที่เหลือคือ การใช้ Windows 7 ซึ่งต้อง Run as Administrator (ผู้ใช้งานทั่วๆไปมักไม่รู้)
No comments:
Post a Comment